ในปัจจุบันการขาดสารอาหารกลุ่มวิตามินและเกลือแร่จนก่อให้เกิดโรค เช่น โรคเลือดออกตามไรฟัน (ขาดวิตามินซี) โรคตาฝ้าฟางในเวลากลางคืน (ได้รับวิตามินเอไม่เพียงพอ) หรือโรคคอหอยพอก (ขาดธาตุไอโอดีน) คงเป็นโรคที่เราพบได้ไม่บ่อยนัก นั่นเป็นเพราะการดูแลเอาใจใส่เรื่องสุขภาพโดยเฉพาะเรื่องของโภชนาที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามกลับพบว่า 30-50% ของประชากรอยู่ในภาวะขาดวิตามินและเกลือแร่ในระดับต่ำ ๆ หรือขาดไปเพียงเล็กน้อย (Suboptimal level) ซึ่งการขาดในลักษณะนี้ร่างกายจะไม่แสดงความผิดปกติออกมาให้เห็นเป็นโรคอย่าง ชัดเจนทันทีทันใด แต่อาจมีผลบั่นทอนสุขภาพ อาการเสื่อมที่เกิดขึ้นจะค่อยเป็นค่อยไปเริ่มรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น และโรคแห่งความเสื่อม หรือโรคเรื้อรังตามมา
สาเหตุของการขาดวิตามินและเกลือแร่
การขาดความรู้และความเข้าใจในการได้รับสารอาหารที่จำเป็นในวัยต่าง ๆ
ใน แต่ละวัยมีความต้องการในสารอาหารพื้นฐานต่างกัน ดังนั้นการคำนึงถึงโภชนาการที่เหมาะสม เพื่อการเจริญเติบโตหรือเพื่อซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จะช่วยลดการขาดวิตามินและแร่ธาตุได้ เด็กและวัยรุ่นเป็นช่วงที่ต้องการสารอาหารหลัก รวมทั้งวิตามิน และเกลือแร่อย่างครบถ้วนเพียงพอ เพื่อการเจริญเติบโตสตรีตั้งครรภ์ต้องการสารอาหารบางชนิดเสริมเป็นพิเศษ เช่น กรดโฟลิค ธาตุเหล็ก แคลเซียม สำหรับผู้สูงอายุถึงแม้ต้องการพลังงานจากอาหารหลักลดลง แต่จำเป็นต้องได้รับวิตามินและแร่ธาตุเพิ่มขึ้น เพื่อไปซ่อมแซมและใช้ในกระบวนต่าง ๆ ของร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเป็น
•ภาวะเจ็บป่วยต่าง ๆ
ทำให้ไม่สามารถทานอาหารได้อย่างครบถ้วน
•การดำเนินชีวิตที่เร่งรีบส่งผลถึงพฤติกรรมการบริโภค
เช่น งดอาหารเช้า ซึ่งเป็นมื้อสำคัญที่สุด
การ ทานอาหารจานด่วนที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ หรือแม้แต่การทานอาหารจานด่วนที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ หรือแม้แต่การทานอาหารนอกบ้าน ไมได้ทำอาหารรับประทานเอง ซึ่งอาจจะไม่ได้รับสารอาหารครบถ้วนเมื่อเทียบกับอาหารที่ปรุงสดใหม่
•ค่านิยมในการควบคุมน้ำหนัก ต้องการผอมจึงจำกัดอาหารบางประเภท
เช่น งดอาหารมัน แป้ง อาจทำให้ขาดวิตามินที่ละลายในไขมันได้
•การเตรียมและปรุงอาหารที่ไม่ถูกวิธี
ทำให้สูญเสียวิตามินไประหว่างประกอบอาหาร เช่น การปิ้ง หรือการทอดทำให้สูญเสียวิตามินอี ถึง 50%
ผล ของการขาดวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญบางชนิดในแต่ละวันอาจเป็นปัจจัยเสี่ยง ของการเกิดโรคเรื้อรัง เช่นโรคหัวใจ หลอดเลือด โรคมะเร็ง และโรคกระดูกพรุนได้ ฉะนั้นการเสริมด้วยวิตามินและเกลือแร่รวมสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงของ การเกิดโรคเรื้อรังบางประเภทได้
วิตามินและเกลือแร่กับโรคเรื้อรัง
กรดโฟลิค หรือโฟเลต
เป็น ที่ทราบกันว่ากรดโฟลิค ซึ่งจัดเป็นวิตามินที่มีประโยชน์อย่างมากในสตรีวัยเจริญพันธุ์และสตรีมี ครรภ์โดยในแต่ละวันจำเป็นต้องการได้รับกรดโฟลิคอย่างน้อย 400 ไมโครกรัม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไขสันหลังและสมองพิการในเด็กทารกแรกเกิด (neural tube defect) ได้
นอกจากนั้นยังพบประโยชน์ในการให้กรด โฟลิคในรูปวิตามินรวมเพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ รวมถึงมีการศึกษาในผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์มาก หารมีระดับโฟเลตต่ำจะเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นอีกด้วย
กลุ่มวิตามินบี
การขาดวิตามินบี 16 บี 12 และกรดโฟลิคนั้น จะสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจ หลอดเลือดตีบตันและอัมพาตได้
ใน คนที่เป็นโรคหัวใจจะตรวจพบสารโฮโมซีสเตอีน (Homocysteine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งอยู่สูง โดยสารนี้เมื่อถูกสันกาปจะมีผลทำลายเยื่อขาดความยืดหยุ่นและกระตุ้นทำให้ เกิดการแข็งตัวของเลือด แต่เมื่อร่างกายได้รับวิตามินบี6 บี 12 ร่วมกับกรดโฟลิค ระดับสารโฮโมซีสเตอีกจะลดลง
จึงนับได้ว่ากลุ่มวิตามินบีสามารถลดปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคดังกล่าว
แคลเซียม วิตามินดี และฟอสฟอรัส
แร่ ธาตุและวิตามินเหล่านี้จำเป็นต่อการสร้างกระดูกตั้งแต่ในวัยเด็กและวัยรุ่น ในขณะที่ผู้สูงอายุก็ยังคงจำเป็นต้องได้รับเพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ของกระดูกและลดการเกิดโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) นอกจากวิตามินและแร่ธาตุพื้นฐานแล้วมีสารเสริมอาหารบางชนิดที่เสริมสร้างการ ทำงานของกระดูก เช่น Chondroitin และ Glucosamine ซึ่งอาจพิจารณาว่าควรได้รับตามความจำเป็น
เบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี
มี คุณสมบัติเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยป้องกันเซลล์ ชะลอการทำลายของเนื้อเยื่อ ป้องกันการทำลายของเซลล์และดีเอ็นเอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็น เซลล์มะเร็ง มีรายงานการศึกษาการให้วิตามิน อี ช่วยลดอัตราการตายจากมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชายที่สูบบุหรี่ อีกทั้งวิตามินอียังช่วยป้องกันโรคเลือดได้ โดยไปยับยั้งการเกาะตัวของเกร็ดเลือด
นอกจากนี้ สารต่อต้านอนุมูลอิสระจะทำงานร่วมกับวิตามินบีเช่นเสริมสร้างการทำงานและ ป้องกันการตายของเซลล์ประสาทจากการทำลายอนุมูลอิสระ (free radical) ซึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคเรื้อรังทางระบบประสาท ได้แก่ โรคสมองเสื่อม (Alzheimer disease and Parkinson disease)
ทำอย่างไรจึงจะได้รับวิตามินที่เพียงพอ
วารสาร ทางการแพทย์ชั้นนำ Journal of American Medical Association (JAMA) หรือ จาม่าแนะนำว่าผู้ใหญ่ทุกคนควรรับประทานวิตามินรวมวันละ 1 เม็ด เนื่องจากเป็นที่ทราบแน่ชัดแล้วว่าสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคกระดูกพรุนได้
รวมถึงคำแนะนำจาก Council for Responsible Nutrition (CRN) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยสารอาหาร ประเทศสหรัฐอเมริกาว่าควรเริ่มต้นได้รับวิตามินและ แร่ธาตุรวมซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญอย่างเพียงพอก่อน หลังจากนั้นจึงอาจเสริมด้วยแคลเซียมหรือสารอาหารเสริมพิเศษอื่น ๆ ตามความจำเป็นของร่างกาย
โดยสรุปแนวทางของการมีสุขภาพดีนั้น ควรเริ่มจากการได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สมดุล ถูกสัดส่วน หรือเสริมด้วยวิตามินและแร่ธาตุรวม รวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพียงเท่านี้ก็ทำให้คุณมีสุขภาพที่แข็งแรง ห่างจากโรคภัยได้ไม่ยาก
อ้วน.com http://www.xn--q3c1ar6i.com/forum/
ห่างไกล โรคร้ายด้วยวิตามินและเกลือแร่รวม
Posted on 06:01 by yut