คุณทานผัก พอแล้วหรือยัง

คุณทานผัก พอแล้วหรือยัง

ข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งของพฤติกรรมการทานผักของคนไทย พบว่าคนทำงานอายุ 20-40 ปี ส่วนใหญ่ทานผักน้อยกว่าที่ควรจะเป็น 100 กรัม นี่ยังไม่ต้องพูดถึงเด็ก ๆ ที่ชอบกินแต่ขนม หรือน้ำอัดลม จนตัวอ้วนกลม คงจะน้อยอย่างน่าตกใจแน่ ๆ


รู้กันว่า ควรทานผักให้ได้อย่างน้อย 350 กรัมใน 1 วัน หรือเท่ากับ 5 กำมือ ที่สำคัญควรทานคละ ๆ กันไป ทั้งผักใบเขียว เหลือง ส้ม เพื่อเสริมสมดุลของกันและกัน

มาดูกันว่า สารอาหารในผักชนิดใด ที่ร่างกายเราต้องการบ้าง

สารอาหารสำคัญที่อยู่ในผัก และพร้อมดูดซึมได้ทันที ได้แก่

แคลเซียม เป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน และการทำงานของหัวใจ วิตามินดี พบมากในเห็ด และแสงแดดยามเช้า จะช่วยดูดซึมแร่ธาตุชนิดนี้ได้ดี

วิตามินบี คอมเพล็กซ์ (B Complex) เสริมสร้างพลังงานในร่างกาย และจำเป็นต่อการสร้างเซลล์ พบมากในกระเทียม, ถั่วแขก, ถั่วยาง (ถั่วชนิดหนึ่งคล้ายถั่วฝักยาว)

วิตามิน ดี D พบมากในเห็ด ช่วยในการดูดซึมแคมเซียม ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในกระดูก ฟัน และการทำงานของหัวใจ

เหล็ก ช่วยลำเลียงออกซิเจนในเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง พบมากในผักจำพวกผักโขม, ผักสลัด


วิตามินซี C
ช่วยให้ผิวกระจ่างใส และยังเกี่ยวข้องกับคอลาเจนในผิว พบมากในผักจำพวกมะเขือเทศ, พริกหยวก, มะระ

ไฟโตเคมิคอล มีคุณสมบัติช่วยปกป้องร่างกายจากอนุมูลอิสระ ที่รู้จักกันดี อย่างเช่น สารไลโคปีนในมะเขือเทศที่ผ่านการปรุงอาหาร สารลูทีนในผักโขม เป็นต้น

แมกนีเซียม ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ และระบบประสาท พบมากในมันฝรั่ง, กระเจี๊ยบ

เบต้าแคโรทีน มีมากในผักที่มีสีเหลือง-ส้ม ช่วยบำรุงสายตา ผิวพรรณ และช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้สูงขึ้นด้วย

วิตามินอี E ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ทำให้เม็ดเลือกแดงแข็งแรง พบมากในฟักทอง ข้าวโพด

โปแทสเซียม คอยควบคุมความสมดุลของน้ำในร่างกาย รักษาความดันโลหิต ช่วยให้เลือดแข็งตัวได้เร็วขึ้น พบมากในแตงกวา, มะเขือม่วง,พริกขี้หนู

ไฟเบอร์ หรือใยอาหาร แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่ละลายในน้ำ จะมีประโยชน์ในการรักษาสุขภาพ ส่วนชนิดที่ไม่ละลายในน้ำ จะช่วยในการขับถ่ายให้เป็นปกติ

สารอาหารที่อยู่ในผัก ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ยิ่งทานผักเยอะ ก็ดีต่อร่างกายมากขึ้นเท่านั้น

หันมาทานผักเพื่อสุขภาพกันเถอะ

ขอขอบคุณบทความดีๆเกี่ยวกับ เคล็ดลับสุขภาพดี สร้างเสริมสุขภาพ จาก Never-Age